เมนู

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย
ประการฉะนี้.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-
จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุด
พ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น
แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่
ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ
ผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขา
ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท
เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.

พราหมณ์และคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก


[128] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤห-
บดีทั้งหลายชาวบ้านศาลาได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดม

ผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ
ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบอปัณณกสูตรที่ 10
จบคหปติวรรคที่ 1

10. อรรถกถาอปัณณกสูตร


อปัณณกสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาริกํ คือ จาริกไป ไม่รีบด่วน.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่า อตฺถิ ปน โว คหปตโย. ดังได้สดับมา บ้านนั้นตั้ง
อยู่ใกล้ปากดง เหล่าสมณพราหมณ์ประเภทต่าง ๆ เดินทางมาตลอดวัน ย่อม
เข้าไปหมู่บ้านนั้น เพื่อพักอาศัยในเวลาเย็นบ้าง เช้าบ้าง ชาวบ้านทั้งหลายก็
ลาดเตียง ตั่ง ถวายสมณพราหมณ์เหล่านั้น ล้างเท้า ทาเท้า ถวายน้ำดื่มอัน
สมควร. วันรุ่งขึ้น ก็นิมนต์ถวายทาน. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็มีจิตผ่องใส
สนทนากับชาวบ้านเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ทรรศนะ
ไร ๆ ที่ท่านทั้งหลายยึดถือไว้ มีอยู่หรือ ? ชาวบ้านก็ตอบว่า ไม่มีหรอก
ท่านเจ้าข้า. สมณพราหมณ์ก็พูดว่า ท่านคฤหบดีทั้งหลาย เว้นทรรศนะเสีย โลก
ก็ดำเนินไปไม่ได้ พวกท่านชอบใจทรรศนะอย่างหนึ่ง เห็นสมควรรับไว้ ก็
ควร. พวกท่านจงถือทรรศนะอย่างหนึ่งว่า โลกเที่ยง ดังนี้ก็พากันหลีกไป.